รีวิวงาน LINE Conference 2018 (1)

2018.07.03 ALL

·     เตรียมรีดีไซน์หรือปรับรูปแบบทั้งในกลุ่มบันเทิง สื่อ ธุรกิจ คอมเมิร์ซ AI และการเงิน 

·     เผยแนวคิด “LINE Token Economy” จาก Blockchain และแผนอื่นๆ ที่น่าสนใจ

   LINE จัดงาน "LINE Conference 2018" ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา 

หัวข้อผู้บรรยาย

1) ภาพรวม                     ทาเคชิ อิเดซาว่า     (ประธานกรรมการบริหาร)

2) กลุ่มบันเทิง                 จุน มัตสึดะ             (ผู้อำนวยการและประธานบริหารฝ่ายกลยุทธ์และการตลาด)

3) ระดับภูมิภาค               โรเจอร์ เชน            (กรรมการผู้จัดการ LINE ไต้หวัน)

                                       อริยะ พนมยงค์      (กรรมการผู้จัดการ LINE ประเทศไทย)

                                       ทาเคชิ อิเอซาว่า

4) กลุ่มธุรกิจ                    มาซากิ ฮามูระ        (เจ้าหน้าที่บริหารและหัวหน้ากลุ่มกลยุทธ์ธุรกิจโฆษณา)

5) กลุ่มคอมเมิร์ซ              ฮิเดโอะ ฟูอิจิ          (เจ้าหน้าที่บริหารและหัวหน้ากลุ่มธุรกิจ O2O)

6) กลุ่มสื่อ                        ทาเคชิ ชิมามูระ      (เจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสและหัวหน้ากลุ่มธุรกิจสื่อ)

7) กลุ่ม AI                        จุน มัตสึดะ                      

8) กลุ่มการเงิน

            - การเงิน            ทาเคชิ อิเดซาว่า

           - LINE Pay        ฮิซาฮิโระ โชฟูกุ         (ผู้อำนวยการและประธานบริหารฝ่ายปฏิบัติการ LINE Pay คอร์ปอเรชั่น)    

----------------------------------------------------------------------

1) ภาพรวม

----------------------------------------------------------------------

LINE ได้กล่าวถึงแนวคิดและความสำเร็จต่างๆ ในปีที่ผ่านมา และประกาศถึงจุดมุ่งหมายในการ “รีดีไซน์” หรือปรับรูปแบบสำหรับกลุ่มการสื่อสาร คอนเทนต์ ธุรกิจ และอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกสบายและเข้าถึงผู้ใช้ได้มากขึ้น โดย LINE ยังกล่าวถึงความตั้งใจในการให้ความสำคัญกับกลุ่ม AI และการเงิน ทั้งนี้ LINE ยังได้ประกาศถึงวิสัยทัศน์ ในการผลักดันแนวคิดที่เกี่ยวกับ blockchain – เทคโนโลยีที่กำลัง ปรับรูปแบบ” การใช้อินเตอร์เน็ตให้เปลี่ยนไป – ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวคิด “LINE Token Economy”

 

LINE Token Economy 

สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี blockchain ที่พัฒนาขึ้นโดย LINE โดยมีวัตถุประสงค์ในการให้รางวัลผู้ใช้ในการรีวิวบริการต่างๆ ด้วยสกุลเงินของ LINE โดยแนวคิดนี้ถือเป็นการให้ Incentive กับผู้ใช้งาน ทำให้บริการต่างๆ ดังกล่าวเติบโตและขยายฐานผู้ใช้ได้มากขึ้น

 

โดย LINE จะนำแนวคิดนี้ไปใช้กับหลากหลายบริการและกลุ่มผู้ใช้ ทั้งนี้ LINE วางแผนที่จะขยายระบบ Token Economy นี้ไปสู่บริการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ของ LINE รวมถึงลูกค้าแบรนด์อื่นๆ ที่มีความต้องการแบบเดียวกันในการเข้าสู่ตลาดเพื่อลดต้นทุนด้านเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดทำระบบขึ้นมาเองสำหรับบริการหรือแบรนด์นั้นๆ  

 

LINE มุ่งมั่นในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี blockchain อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการสร้าง “LINE Blockchain Lab” (แผนกวิจัยภายใน LINE เพื่อออกแบบและพัฒนา dApp services) การก่อตั้ง “unblock” (บริษัทในเครือเพื่อออกแบบ Token Economy) ในเดือนเมษายน และในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และได้ร่วมมือกับโครงการ blockchain ระดับโลกอย่าง “ICON” ในการก่อตั้ง “unchain” (สำหรับพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับ token economy) ในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

----------------------------------------------------------------------

2) กลุ่มบันเทิง

----------------------------------------------------------------------

LINE ได้กล่าวถึงแนวคิด ความบันเทิง เทคโนโลยี” และการใช้เทคโนโลยีสร้างวิวัฒนาการด้านความบันเทิง โดย LINE ยังได้ประกาศการปรับรูปแบบบริการต่างๆ ดังต่อไปนี้

LINE Music

มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำบริการสตรีมมิ่งเพลงในประเทศญี่ปุ่นด้วยยอดดาวน์โหลดแอปฯ เกินกว่า 26 ล้านครั้ง (ณ เดือนพฤษภาคม 2561) และมีผู้ใช้ Ticket ประมาณ 1.3 ล้านคน โดย LINE ยังได้ประกาศฟีเจอร์ใหม่  2 ฟีเจอร์ – Chat BGM และ Music Videos – อีกหนึ่งแนวคิดในการสร้างการเติบโตของบริการและอุตสาหกรรมเพลงโดยรวม

 

·     Chat BGM (มีแผนเปิดตัวในช่วงฤดูร้อน 2561)

“Background Music” ฟีเจอร์ที่มีผู้ใช้แล้วเกินกว่า 7.8 ล้านคนที่ให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าเพลงโปรดในโปรไฟล์ LINE ได้ จะถูกปรับรูปแบบให้ผู้ใช้สามารถนำเพลงโปรดเข้าสู่ห้องแชต LINE ในรูปแบบของ “Chat BGM” ซึ่งฟีเจอร์ใหม่นี้จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้นำเพลงที่ชื่นชอบเข้าสู่หน้าแชตซึ่งเป็นหน้าที่มีการใช้งาน LINE บ่อยที่สุด โดยสามารถปรับแต่งได้หลากหลาย เช่น ตั้งค่าเพลงเป็น “theme song” สำหรับเปิดในห้องแชตระหว่างผู้ใช้กับเพื่อนใน LINE เป็นต้น

 

·     Music Video (มีแผนเปิดตัวในช่วงฤดูใบไม้ร่วง 2561)

ผู้ใช้สามารถชมมิวสิควิดีโอจากแอปฯ LINE Music ได้จากหลากค่ายเพลงดัง เช่น Universal Music LLC/ avex entertainment Inc / JVC KENWOOD Victor Entertainment Corp. / Pony Canyon Inc. / King Record Co., Ltd. / Space Shower Networks Inc. / K.K. A-Sketch / Sony Music Entertainment (Japan) Inc. เป็นต้น

 

LINE Manga

·      เข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ NAVER WEBTOON บริการหนังสือและการ์ตูนอันดับ จากเกาหลี

เพื่อขยายบริการด้านการ์ตูนดิจิตอล “LINE Manga” LINE ได้เข้าร่วมเป็นพันธมิตรโดยการร่วมทุนกับ NAVER WEBTOON Corporation (ผู้ให้บริการหนังสือและการ์ตูนออนไลน์ทั้งในเกาหลีและต่างประเทศในการก่อตั้ง LINE Digital Frontier Corporation (ในวันที่กรกฎาคม 2561) โดยมีแผนที่จะควบรวม “XOY” บริการการ์ตูนออนไลน์ฟรีของ NAVER WEBTOON ในญี่ปุ่นไว้ใน LINE Manga ภายในปี 2561 นี้

สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:https://linecorp.com/en/pr/news/en/2018/2251

 

ธุรกิจเกม

·      LINE Quick Game (เปิดตัวในช่วงฤดูร้อน 2561)

LINE ได้ประกาศ“LINE Quick Game” ระบบที่ให้ผู้เล่นสามารถเล่นเกมผ่านออฟฟิเชี่ยลแอคเคาท์ใน LINE ได้โดยไม่ต้องออกจากแอปฯ หรือติดตั้งแอปฯ เกมแยก โดยมีแผนที่จะเปิดตัว เกมในช่วงฤดูร้อนนี้ ซึ่งมีทั้งเกมแนวพัซเซิล shooting และ chat-based story ทั้งนี้ LINE มุ่งมั่นที่สรรหาเกมคุณภาพดีมาเพิ่มเติมเพื่อขยายฐานให้กว้างมากขึ้น

สามารถดูรายละเอียดข่าวเพิ่มเติม:https://linecorp.com/en/pr/news/en/2018/2250

 

·      เชื่อมต่อ LINE กับเกมฮิตระดับโลก“Knives Out” (เปิดตัวเร็วๆ นี้)

LINE ได้ร่วมเซ็นต์สัญญาเป็นพันธมิตรกับ NetEase Games เพื่อเชื่อมต่อ LINE เข้ากับสุดยอดเกมฮิตระดับโลกอย่าง “Knives Out” ให้ผู้เล่นสามารถใช้ประโยชน์จาก LINE สร้างโซเชียลของเกมได้ โดยจะมีกำหนดการปล่อยออกมาในเร็วๆ นี้

 

·      Smart Channel (เปิดตัวในปี 2561)

“Smart Channel” เป็นพื้นที่ข้อมูลรูปแบบใหม่ที่จะมาอยู่ด้านบนของหน้ารายการแชต โดยจะถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการทราบ/รับรู้มากที่สุดในช่วงใดช่วงหนึ่ง Smart Channel สามารถให้ข้อมูลเฉพาะเจาะจงที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ได้ เช่น สภาพอากาศ ข่าวสำคัญ ข้อมูลภัยพิบัติ และอื่นๆ อิงตามข้อมูลที่ผู้ใช้เป็นคนป้อนให้และตามประวัติการทำกิจกรรมต่างๆ ใน LINE

----------------------------------------------------------------------

3) ระดับภูมิภาค

----------------------------------------------------------------------

สำหรับในช่วงนี้ ผู้บริหารระดับสูงของไต้หวันและไทย – สองตลาดสำคัญของ LINE – ได้ขึ้นบรรยายใน LINE Conference เป็นครั้งแรกเพื่อเปิดเผยถึงแนวการพัฒนาธุรกิจ ผลความสำเร็จล่าสุด และอื่นๆ ในขณะที่ ทาเคชิ อิเดซาว่า ประธานกรรมการบริหารได้พูดถึงกลยุทธ์และการพัฒนาธุรกิจในประเทศอื่นๆ เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม ฮ่องกง และตะวันออกกลาง โดยเน้นให้ความสำคัญกับความต้องการในตลาดของแต่ละประเทศ และสนับสนุนให้มีการพัฒนารูปแบบธุรกิจหรือบริการให้เหมาะสมกับประเทศนั้นๆ ได้อย่างอิสระ เพื่อให้ LINE กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้ใช้ในแต่ละประเทศได้อย่างสมบูรณ์แบบ

----------------------------------------------------------------------

4) กลุ่มธุรกิจ

----------------------------------------------------------------------

ธุรกิจโฆษณาของ LINE จนถึงปัจจุบันเป็นสื่อโฆษณาที่เน้นแนวคิดด้านการสื่อสารกับผู้ใช้ เช่น ออฟฟิเชี่ยลแอคเคาท์ใน LINE และ Sponsored Stickers ซึ่ง LINE ได้ประกาศปรับรูปแบบบริการนี้ใหม่สู่การเป็น Business Solution ที่ช่วยลดช่องว่างหรือเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งาน แบรนด์/ธุรกิจ และเจ้าของธุรกิจเข้าด้วยกัน ด้วยการปรับมูลค่าของบริการ LINE จากเป็นเพียง 
สื่อโฆษณาเป็น บริการสำหรับผู้ใช้โดยบริษัทหรือเจ้าของธุรกิจต่างๆ

 

รวม business accounts และแนะนำแผนบริการใหม่เริ่มต้นที่ เยน (ยังไม่มีกำหนดการ)

LINE Official Accounts (สำหรับองค์กรหรือแบรนด์ขนาดใหญ่และ LINE@ (สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะถูกรวมกันเป็นโซลูชั่นเดียวภายใต้ชื่อ “LINE Official Accounts” ยิ่งไปกว่านั้น LINE จะผนวกรวม LINE Business Connect (บริการที่ช่วยสร้างการสื่อสารสองทางระหว่างแบรนด์กับผู้ใช้งาน), LINE Customer Connect (บริการช่วยเหลือลูกค้าสำหรับแบรนด์ต่างๆและ LINE Point Connect (โปรแกรมการให้ LINE Pointแก่ผู้ใช้งานของแบรนด์ต่างๆ)เข้าไปอยู่ใน LINE Official Account อีกด้วย ส่วน API จะเป็นทางเลือกที่จะทำให้แบรนด์และเจ้าของธุรกิจสามารถให้ข้อมูลหรือบริการที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ผู้ใช้แต่ละคนได้ โดยในอนาคต แบรนด์/บริษัทจะสามารถใช้ LINE Official Accounts  ได้โดยค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ เยนต่อเดือน ทำให้แบรนด์และเจ้าของธุรกิจสามารถใช้บริการอันหลากหลายของ LINE ได้มากขึ้น 

 

ขยายสาขาออกสำหรับภาคธุรกิจ SMB

LINE มุ่งมั่นที่จะเข้าถึงภาคธุรกิจ SMB ด้วยการจัดตั้งทีมฝ่ายขายในโอซาก้าและฟูกูโอกะ นำเสนอ  self-serving ads ภายใน LINE Ads Platform และมองหาบริการสำหรับ SMB มาเพิ่มเติมใน LINE Promotion Stickers และ LINE Point Code

----------------------------------------------------------------------

5) กลุ่มคอมเมิร์ซ

----------------------------------------------------------------------

LINE ประกาศแนวคิดและฟีเจอร์ใหม่สำหรับ LINE Shopping (เปิดตัวเมื่อปีที่แล้วและมีสมาชิกลงทะเบียนแล้วถึง 20 ล้านคน ณ เดือนมิถุนายน 2561) และ LINE Delima รวมถึงบริการใหม่ในกลุ่มคอมเมิร์ซอย่าง LINE Travel

 

LINE Shopping 

·      ขยายสู่ออฟไลน์ (เริ่มต้นในช่วงฤดูใบไม้ร่วง2561)

LINE ประกาศจะผนวกบริการออนไลน์/ออฟไลน์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้เพื่อขยายการเติบโตของบริการ โดยในปีที่ผ่านมา LINE ได้ทดลองร่วมกับร้าน dinos Koshigaya Outlet ส่งข้อความถึงผู้ใช้ในบริเวณใกล้เคียงกับร้านออฟไลน์ดังกล่าวผ่านแอคเคาท์ LINE Shopping ผู้ใช้งานที่โชว์บาร์โค้ดที่ได้จากข้อความในระหว่างการชำระเงินจะได้รับ LINE Point จำนวนหนึ่งขึ้นอยู่กับมูลค่าสินค้าที่ซื้อ โดย LINE มีแผนจะแนะนำบริการในรูปแบบนี้ต่อร้านค้าออฟไลน์ต่างๆ ในอนาคต

 

 

·      เพิ่มฟีเจอร์ “ID Payment” ใน LINE Pay (เริ่มตั้งแต่ช่วงฤดูใบไม้ร่วง 2561)

“ID Payment” ฟีเจอร์ใหม่ล่าสุดสำหรับการโอนเงินและชำระเงินผ่านมือถือด้วย “LINE Pay” ให้ผู้ใช้สามารถใช้ยอด LINE Point ในการชำระเงินผ่าน LINE Pay ได้ และยังอำนวยความสะดวกทำให้การซื้อของ การชำระเงินออนไลน์ สะดวกยิ่งขึ้นด้วยการบันทึกอีเมล์และข้อมูลบัตรเครดิตที่ลงทะเบียนไว้ในระบบ ลดความยุ่งยากในการกรอกข้อมูลใหม่ทุกครั้งที่เข้าไปช้อปปิ้งในแต่ละเว็บไซต์ โดย LINE Shopping จะเริ่มติดตั้งฟีเจอร์นี้ให้กับร้านค้าที่ร่วมรายการในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเพื่อมอบประสบการณ์การชำระเงินที่สะดวกสบายและคล่องตัวให้แก่ผู้ใช้

 

·      ฟีเจอร์ Shopping Lens (เปิดตัววันที่ 28  มิถุนายน)

LINE ประกาศเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ “Shopping Lens” ให้ผู้ใช้สามารถใช้รูปภาพหรือรูปถ่ายค้นหาสินค้าใน LINE Shopping ที่มีจำนวนมากกว่า 60 ล้านไอเทมด้วยกัน

*สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่:https://linecorp.com/en/pr/news/en/2018/2252

 

“LINE Travel” (เปิดตัววันที่ 28  มิถุนายน)

LINE ประกาศเปิดตัว “LINE Travel” บริการท่องเที่ยวครบวงจรที่เพิ่มเข้ามาล่าสุดในกลุ่มคอมเมิร์ซ LINE Travel เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถค้นหา เปรียบเทียบราคา และจองโรงแรมทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงแพคเกจทัวร์ ตั๋วเครื่องบินจากกว่า 250 บริษัท (รวมถึงบริษัทเอเจนซี่ท่องเที่ยว บริษัทขนส่ง และเว็บไซต์ท่องเที่ยวยอดฮิตต่างๆ เช่น JTB และ Jalanเป็นต้นโดยฟีเจอร์หลักในช่วงแรก ได้แก่ ค้นหาและจองที่พักทั้งในและต่างประเทศในช่วงฤดูร้อนนี้ ค้นหาและจองตั๋วเครื่องบินในช่วงเดือนตุลาคม พร้อมด้วยแพคเกจทัวร์ทั้งในและต่างประเทศในเดือนธันวาคม

สามารถดูรายละเอียดข่าวเพิ่มเติมได้ที่:https://linecorp.com/en/pr/news/en/2018/2253